ที่มา... พิพิธภัณฑ์

“สถาบัน

พระปกเกล้า”

เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ประธานรัฐสภามีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง
สถาบันพัฒนาประชาธิปไตยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงได้มีรายงานผลการศึกษาโครงการจัดตั้งสถาบัน
พระปกเกล้า และได้รับพระบรมราชานุญาตขอพระราชทานเชิญพระนามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
มาเป็นชื่อสถาบันว่า “สถาบันพระปกเกล้า” ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2537 ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัด
อยู่ในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาจึงมีพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541

King
Prajadhipok
Museum

Timeline

ที่มา... พิพิธภัณฑ์

2541

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
ได้รับโอนภารกิจที่เกี่ยวกับพระบาท-
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจาก
พิพิธภัณฑ์รัฐสภา

2543

บทบาทหน้าที่พิพิธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถาบันพระปกเกล้าปรับโครงสร้างให้พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหน่วย
งานในระดับสำนัก 2 ครั้ง คือเป็น พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และหอสมุด
ต่อมาเปลี่ยนให้เรียกว่า พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการวางแผนพัฒนาพิพิธภัณฑ์ และรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระบาท-
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน
นักศึกษา และประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และหอสมุด

“เป็นอาคารที่งดงามและทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม
รวมทั้งตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมคือหันหน้าตรงไปยัง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและพระบรมมหาราชวัง”

คณะอนุกรรมการจัดหาสถานที่สำหรับจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดประกวดการออกแบบพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ได้
แบบการจัดแสดงที่ดี เหมาสม ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อเป็นการถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้แนวคิดและการออกแบบพิพิธภัณฑ์โดย บริษัท สถาปนิก ซีรีน จำกัด
ในการออกแบบยึดหลักของการอนุรักษ์เนื่องจากเป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์ มีความงดงามทรงคุณค่าทาง
สถาปัตยกรรม การออกแบบภายในและการจัดแสดงต้องไม่ทำลายเอกลักษณ์เดิมของอาคารแต่ต้องกลมกลืน
ต่อเนื่องทั้งการวางผังและแบ่งพื้นที่จัดแสดง ในระหว่างดำเนินการออกแบบสถาบันพระปกเกล้าได้เชิญ
นายเรอโน ปีราร์ด (Mr. Renaud Pierard) ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส และ ดร. อันเน็ทท์ ชวันด์เนอร์
(Dr. Annette Schwandner) ผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน มาให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการออกแบบแก่
คณะกรรมการตรวจการจ้างฯ และบริษัทสถาปนิก ซีรีน จำกัด ด้วย ดำเนินการได้ระยะหนึ่งสถาบันพระปกเกล้า
ประกวดราคาจ้างตกแต่งอาคารพิพิธภัณฑ์ได้โดย บริษัท ปิโก อินเตอร์เนชชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย)
จำกัด ดำเนินการรับเหมาตกแต่งอาคารต่อ

2541 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสำนักงานหนึ่งในสถาบันพระปกเกล้า ได้รับโอนภารกิจ
ที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจาก พิพิธภัณฑ์รัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนัก
งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2522 พร้อมกับสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาท-
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจัดอาคารใต้พระบรมราชานุสาวรีย์เป็นสถานที่แสดงพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์
และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 พระราชทาน
สิ่งของส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจัดแสดง ให้เข้าชมครั้งแรกในวันพระราชพิธี
เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2523 โดยพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541
มาตรา 29 ระบุว่า “ให้โอนบรรดาอำนาจ หน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ รวมทั้งงบประมาณของสำนัก
งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของสถาบันพระปกเกล้า และพิพิธภัณฑ์พระ-
บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไปเป็นสถาบัน”

2544

26 เมษายน 2544 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ได้ส่งวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ให้แก่สถาบันพระปกเกล้า

2544 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ให้แก่สถาบันพระปกเกล้า
เมื่อวันที่ 26 เมษายน โดยโบราณวัตถุที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์รัฐสภา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จ
พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จ-
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจัดแสดง อันได้แก่ ฉลองพระองค์ หนังสือ เครื่องดนตรี เครื่องกีฬา เครื่องทรง
พระอักษร พระบรมฉายาลักษณ์ จำนวน 48 รายการ รวม 776 ชิ้น

2544

6 สิงหาคม 2544 ลงนามจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ

สถาบันพระปกเกล้าได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะกรรมการ
ได้ตั้งคณะอนุกรรมการจัดหาสถานที่สำหรับจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ฯ โดยคณะอนุกรรมการฯดังกล่าวพบว่าอาคาร
อนุรักษ์กรมโยธาธิการ ณ บริเวณเชิงผ่านฟ้าลีลาศ ถนนหลานหลวง เป็นอาคารอนุรักษ์ของคณะกรรมการ
โครงการกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นอาคารที่งดงามและทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งตั้งอยู่ในทำเล
ที่เหมาะสมคือ หันหน้าตรงไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและพระบรมมหาราชวัง เหมาะสมที่จะใช้เป็นอาคาร
พิพิธภัณฑ์สำหรับพระมหากษัตริย์และความรู้ด้านการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้ขออนุญาตใช้อาคาร
ดังกล่าว โดยสถาบันพระปกเกล้าได้เช่าอาคารจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อจากกรมโยธาธิการ มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2544

2545

7 ธันวาคม 2545 พิธีเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ

King

Prajadhipok

Museum

2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระมหากรุณา-
ธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร(พระอิสริยยศขณะนั้น)
เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 7 ธันวาคม 2545

Timeline

ที่มา... พิพิธภัณฑ์